
วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552
ดอกทิวลิป

ดอกสายหยุด

ดอกเฟื่องฟ้า

ดอกไม้ประจำจังหวัด ภูเก็ต
ชื่อสามัญ Bougainvillea, Peper Flower, Kertas
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bougainvillea spp.
วงศ์ NYCTAGINACEAE
ชื่ออื่น ตรุษจีน, ดอกต่างใบ, ดอกกระดาษ
ลักษณะทั่วไป เฟื่องฟ้าเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางประเภทเถาเลื้อย ลำต้นมีความยาวประมาณ 1–10 เมตร มีลำเถาแข็งแรงเลื้อยไปได้ไกล ลำต้นมีหนามติดอยู่เป็นระยะๆ ลักษณะทรงพุ่มตัดแต่งได้ บังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ใบเป็นใบเดี่ยวแตกตามเถา รูปไข่ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ พื้นใบเรียบสีเขียว ออกดอกเป็นช่อตามส่วนยอด มีกลีบดอกหรือใบประดับ 3 กลีบ ส่วนดอกจะมี ดอกเล็กสีขาว กลีบดอกจะมีขนาดและสีสรรแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์ออกดอกตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูแล้งจะให้ดอกดกมาก
การขยายพันธุ์ การตอน, การปักชำ, การเสียบยอด
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย แสงแดดจัด ทนแล้งได้ดี
ถิ่นกำเนิด ประเทศบราซิล
ดอกชบา
วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552
ดอกกล้วยไม้
1. ลำต้นกล้วยไม้ที่มีลักษณะเป็นลำต้นปกติหรือโมโนโพเดี้ยล (monopodial) ลำต้นกล้วยไม้ประเภทนี้จะสังเกตเห็นได้จากกล้วยไม้ประเภทโมโนโพเดี้ยล เช่น แวนด้า เอื้องกุหลายชนิดต่าง ๆ เป็นต้น ที่มีลำต้นปกติ เป็นข้อและปล้องเช่นเดียวกับพืชใบเลี้ยงเดี่ยวทั่วไป ส่วนที่อยู่เหนือข้อเป็นส่วนที่เกิดตา ซึ่งอาจแยกเป็นหน่ออ่อน กิ่งอ่อน หรือช่อดอกก็ได้
2. ลำต้นกล้วยไม้ประเภทที่ไม่มีลักษณะเป็นลำต้นปกติหรือซิมโพเดี้ยล (sympodia) เป็นกล้วยไม้ที่ลำต้นเปลี่ยนสภาพ กล่าวคือมีความผิดเพี้ยนไปจากลำต้นปกติ แต่ทำหน้าที่แบบลำต้นมีตาที่สามารถแตกหน่อและแทงช่อดอกออกมาจากส่วนนี้ได้ ดังเช่นกล้วยไม้ในสกุลคัทลียา, สกุลเด็นโดรเบียม (สกุลหวาย), สกุลเอพิเด็นครั้ม และสกุลออกซิเดียม
ส่วนลำต้นที่แท้จริงของกล้วยไม้ประเภทนี้คือ ส่วนที่อยู่ราบกับพื้นหรือเครื่องปลูก ซึ่งมีข้อและปล้องคือ เหง้า (rhizome) ส่งก้านใบขึ้นมาเป็นระยะ ๆ ความยาวของข้อและปล้องจะเจริญไปตามแนวนอนและถือเอาส่วนที่แตกหน่อเป็นส่วนยอดดังนั้นส่วนที่ชูใบขึ้นจากพื้นเป็นเพียงส่วนที่ทำหน้าที่คล้ายก้านใบมีชื่อเรียกเฉพาะ "ลูกลำกล้วย" (pseudo-bullb) ซึ่งมีข้อปล้องและมีตา แต่เมื่อส่วนนี้เจริญกระทั่งออกดอกแล้วจะไม่เจริญเติบโตต่อไปอีก จึงไม่เป็นลำต้นที่แท้จริงเพราะไม่มีการแตกยอดใหม่ สรุปได้ว่าส่วนที่เป็น "เหง้า" คือส่วนที่ทำหน้าที่เป็นลำต้นของกล้วยไม้ประเภทซิมโพเดียลและส่วนที่เป็นลำต้น (เหง้า) ที่มักอยู่ในแนวราบกับสิ่งที่กล้วยไม้นั้น ๆ เกาะอยู่ ไม่ว่าสิ่งที่มันอาศัยเกาะอยู่นั้นจะเป็นไปในลักษณะแนวราบหรือแนวตั้งก็ตาม ในกรณีกล้วยไม้ดินอาจมีเหง้าอยู่บริเวณผิวดินหรืออยู่ในดิน กล้วยไม้เป็นพืชที่ไม่มีรากแก้ว แต่จะมีระบบรากเช่นเดียวกับ ขิง ข่า และอ้อย เป็นต้น กับยังมีกล้วยไม้อีกหลายชนิดที่มีระบบรากอากาศหรือยึดเกาะอยู่ตามคาคบไม้ก็ได้
ดอกพุดซ้อน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gardenia Augusta
ถิ่นกำเนิด ประเทศไทย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
พุดซ้อนเป็นดอกไม้สีขาว มีทั้งชนิดที่มีกลิ่นหอมและกลิ่นไม่หอม กลีบซ้อนเป็นชั้นๆ สวยงาม นิยมนำไปร้อยพวงมาลัยบูชาพระ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พุดซ้อนเป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1-2เมตร แตกกิ่งแขนงมาก ลำต้นเรียวเป็นรูปกรวย ใบเป็นใบเดี่ยว รูปหอก ปลายใบและโคนใบแหลม ใบมีสีเขียวมน ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีขาวออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยงหนาเป็นสัน มีทั้งชนิดดอกลาคือกลีบดอกชั้นเดียวและชนิดดอกซ้อนมีกลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกัน เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-8 ซม. กลิ่นหอมแรง ออกดอกตลอดปี
การปลูกและดูแลรักษา
พุดซ้อน เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการแสงแดดจัด ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ
การปลูก
นิยมปลูกในแปลงปลูก เพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ชนาดหลุมปลูก 50x50x50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือ ปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก ถ้าปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านหรืออาคาร ควรปลูกให้มีระยะหย่างที่เหมาะ สม เพราะพุดเป็นไม้ที่มีทรงพุ่มใหญ่
การดูแลรักษาแสงต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
ประโยชน์
ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ ดอกสวยงามและมีกลิ่นหอม
ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย : ปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้าน ตัดแต่งทรงพุ่ม ปลูกเป็นแนวรั้วได้ดีเนื้อหุ้มเมล็ดใช้ทำสีผสมอาหารได้ให้สีเหลืองเนื้อไม้ใช้ทำกรอบรูป ทำหัวน้ำหอม น้ำจากต้นใช้เป็นยาขับพยาธิ รากแก้ไข้ ท้องอืดเฟ้อ เนื้อไม้ใช้ เป็นยาเย็น ลดพิษไข้
ดอกเข็ม

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นเข็มไว้ ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพือเอาประโยชน์ทั่วไปทางดอก ให้ปลูกในวันพุธ
วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552
ดอกดาวเรือง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tagetes erecta L.
ชื่อวงศ์ : Compositae
ชื่อสามัญ : African marigold, Aztec marigold, Big marigold, American marigold
ชื่อพื้นเมือง : ดอกคำพู่จู้ คำปูจู้หลวง ดาวเรืองใหญ่ พอทู ดาวเรืองอเมริกัน
ชนิดพืช [Plant Type] : ไม้ดอกล้มลุก
ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : ไม้ดอกล้มลุก มีทั้งพันธุ์เตี้ยเเละพันธุ์สูง ลำต้นเป็นเหลี่ยม
ใบ (Foliage) : ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปรีถึงรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 0.5-1.5 เซนติเมตร ยาว 1.5-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบแคบ ขอบใบจักฟันเลื่อย ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม
ดอก (Flower) : มีหลายสี เข่น สีขาว เหลือง เหลืองทอง และส้ม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกเดี่ยวที่ปลายกิ่ง ดอกวงนอกกลีบดอกเป็นรูปรางน้ำซ้อนกันแน่น โคนกลีบดอกเป็นหลอดเล็ก ปลายแผ่เป็นรูปไข่กลับ ดอกวงในกลีบดอกเป็นหลอดสีเหลืองปลายจักเป็น 5 ซี่ ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-8 เซนติเมตร
ผล (Fruit) : ผลแห้งไม่แตก มีสีดำ
การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) : ดอกสวย ปลูกประดับเป็นจุดเด่นในสวนหรือปลูกเป็นกลุ่ม ริมถนน ทางเดิน
ประโยชน์ : ใบมีสรรพคุณพอกแผลฝี ทาแผลเน่าเปื่อย น้ำคั้นจากใบแก้ปวดหู ดอกแก้ริดสีดวงทวาร ขับเสมหะแก้เจ็บตา เวียนศีรษะ ไอกรน คางทูม
ดอกมะลิ
วันแม่ในสมัยก่อนนั้นไม่มีการกำหนดวันแม่ให้แน่ชัดเนื่องจากเกิดเหตุการณ์หลายอย่าง การจัดวันแม่ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2486 ณ สวนอัมพร แต่เนื่องจากช่วงนั้น เป็นช่วงสงครามโลก ปีต่อมาจึงงด หลายฝ่ายพยายามรื้อฟื้นวันแม่ขึ้นมา แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และได้วันที่เป็นที่รับรองของรัฐบาล คือวันที่ 15 เมษายน เริ่มขึ้นในปี 2493 จัดในวันนี้ไปอีกหลายปีแต่ต้องหยุดชะงักลง เพราะกระทรวงวัฒนธรรมโดนยุบ ต่อมาได้กำหนดจัดวันแม่วันที่ 4 ตุลาคม เริ่มในปี 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งในปี 2519 คณะกรรมการอำนวยการ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม่โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมา
เหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับ ความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย…
ดอกอัญชัน
ดอกอัญชัน :butterfly pea
ดอกอัญชัน พืชไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก ลำต้นมีขนนุ่มปกคลุม ใบเป็นรูปไข่ ผิวและขอบเรียบ ใบบางสีเขียบ ดอกมี 2 ชนิด มีทั้งดอกชั้นเดียว และดอกซ้อน ดอกมีสีน้ำเงินแก่ ม่วงแดง ม่วงอ่อน และขาว ดอกมีรูปทรงคล้ายกับกรวย กลีบรูปกลม ปากเว้า เป็นแอ่งตรงกลางกลีบ มีสีเหลือง
คุณค่าอาหารและสรรพคุณ ดอกอัญชัน
ดอกอัญชัน ดอกใช้แต่งสีน้ำเงินและสีม่วงให้กับอาหารต่างๆ เช่น ขนมช่อม่วง ขนมเรไร ขนมชั้น เป็นต้น เวลาคั้น จะมีสีน้ำเงินเข้ม ถ้าต้องการสีม่วง ให้หยอน้ำมะพร้าวลงไปเล็กน้อย สรรพคุณน้ำดอกอัญชันคือ มีเบต้าแคโรทีนสูง เป็นตัว แอนติออกซิแดนท์ ช่วยต่อต้านสารก่อมะเร็ง