วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

ดอกทิวลิป


ดอกทิวลิป (Tulip) ดอกไม้เมืองหนาวออกดอกในฤดูใบไม้ผลิ ในปัจจุบันมีการผสมพันธุ์ทิวลิปมากกว่า 100 ชนิด เราจะเห็นทุ่งทิวลิปคุ้นตาตามหนังสือท่องเที่ยว และกลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฮอลแลนด์ ใครที่เคยไปเยือนประเทศนี้ต้องเคยไปเที่ยวสวนเคอเคนฮอฟ ชานเมืองลิซเซ่ (Lisse) ซึ่งเป็นแหล่งปลูกทิวลิปที่ใหญ่และสำคัญยิ่งของฮอลแลนด์ เมืองลิซเซ่อยู่ห่างจากอัมสเตอร์ดัมเพียง 29 กิโลเมตร ดอกทิวลิป มีต้นกำเนิดที่ประเทศตุรกี เป็นดอกไม้ป่า ที่ขึ้นเองในธรรมชาติ สมัยโบราณเจ้าหน้าที่ตุรกีได้นำดอกทิวลิป มามอบให้กับทูตเวียนนา เพื่อไปปลูกยังประเทศออสเตรีย แต่มีคนสวนชาวฮอลแลนด์นำกลับมาปลูก และเพาะพันธุ์ และผสมพันธุ์ใหม่จนเกิดเป็นหลากหลายสี และหลายพันธุ์ การผสมพันธุ์ ดอกไม้ที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาตินั้น จึงขัดต่อหลักศาสนา และถูกห้าม จึงทำให้หัวทิวลิปนั้นมีราคาแพง คนรวยในสังคมชั้นสูงจึงจะมีเงินซื้อมาปลูก และมีราคาแพงมากจนถูกห้ามปลูก ในอังกฤษ จากนั้นการเพาะพันธุ์ทิวลิป ได้รับการยอมรับและรัฐบาลสนับสนุน และเป็นสินค้าส่งออกทีสำคัญอย่างหนึ่งของ เนเธอร์แลนด์ ทิวลิปมากกว่าครึ่ง ส่งไปจำหน่ายท ี่อเมริกา มีความหมายถึงการตกหลุมรักหัวปักหัวปำ ความรักที่ฉาบฉวยและจึดจางอย่างรวดเร็ว ทิวลิปสีแดง "อยากให้โลกรู้ว่าฉันรักเธอ" สีเหลือง มีหางเสียงเศร้าๆ ว่า "ฉันหมดหวังในรักเธอแล้วหรือไร" ทิวลิปหลากสีในช่อเดียวกันหมายความว่า "ดวงตาแสนสวยของเธอทำให้ฉันคลั่งไคล้"








ดอกสายหยุด


ชื่อวิทยาศาสร์ Desmos chinensis Lour.
ตระกูล ANNONACEAE
ชื่อสามัญ Desmos
ลักษณะทั่วไป ต้นสายหยุดเป็นไม้เถาเลื้อยกึ่งไม้ยืนต้น มีเถาใหญ่แข็งแรงสามารถเกาะเลื้อยพันต้นไม้ หรือกิ่งอื่น ๆไปได้ไกล และมักจะแตกกิ่งก้านสาขามากในบริเวณยอด และจะแผ่กิ่งก้านสาขาออกไปเป็นบริเวณกว้าง กิ่งอ่อนจะมีสีน้ำตาลและมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมโดยทั่วไป ส่วนกิ่งแก่นั้นจะมีสีดำเป็นมัน ไม่มีขนใบใบจะออกสลับกันตามข้อต้น ใบจะเป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนานแกมรูปหอก ปลายใบแหลมเป็ฯติ่นสั้นโคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ใบด้านบนเรียบ ส่วนด้านล่างจะมีขน ขอบใบเรียบ ไม่มีจัก ใบสีเขียวเข้มดอกสายหยุดจะออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกแบบตามขอต้นโคนก้านใบ และที่ตาซึ่งติดกับลำต้นลักษณะของดอกเมื่อยังตูมอยู่จะเป็นสีเขียว และเมื่อบานจึงจะเป็นสีเหลือง ดอกจะห้อยลง ดอกมีขนาดเล็ก มีกลีบดอก 5-6 กลีบ แบ่งเป็ฯ 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบ และมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอกจะบิดงอเช่นเดียวกันกับดอกกระดังงาไทย มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจำนวนมากอยู่ภายในดอก ดอกจะมีกลิ่นหอมจัดในตอนเช้าตรู่พอสายกลิ่นก็จะค่อย ๆ ลดความหอมลง และจะหมดกลิ่นหอมลงเมื่อใกล้เวลาเที่ยงวัน
ฤดูกาลออกดอก สายหยุดจะออกดอกตลอดปี
การปลุก สายหยุดมีวิธีการปลูก โดยการนำต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ด หรือกิ่งที่ได้จากการตอนมาปลูกลงดินหลังปลูกประมาณ 3-4 ปี จึงจะให้ดอก

ดอกเฟื่องฟ้า


ดอกไม้ประจำจังหวัด ภูเก็ต
ชื่อสามัญ Bougainvillea, Peper Flower, Kertas
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bougainvillea spp.
วงศ์ NYCTAGINACEAE
ชื่ออื่น ตรุษจีน, ดอกต่างใบ, ดอกกระดาษ
ลักษณะทั่วไป เฟื่องฟ้าเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางประเภทเถาเลื้อย ลำต้นมี
ความยาวประมาณ 1–10 เมตร มีลำเถาแข็งแรงเลื้อยไปได้ไกล ลำต้นมีหนามติดอยู่เป็นระยะๆ ลักษณะทรงพุ่มตัดแต่งได้ บังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ใบเป็นใบเดี่ยวแตกตามเถา รูปไข่ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ พื้นใบเรียบสีเขียว ออกดอกเป็นช่อตามส่วนยอด มีกลีบดอกหรือใบประดับ 3 กลีบ ส่วนดอกจะมี ดอกเล็กสีขาว กลีบดอกจะมีขนาดและสีสรรแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์ออกดอกตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูแล้งจะให้ดอกดกมาก
การขยายพันธุ์ การตอน, การปักชำ, การเสียบยอด
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย แสงแดดจัด ทนแล้งได้ดี
ถิ่นกำเนิด ประเทศบราซิล

ดอกชบา






ชื่อวิทยาศาสตร์ Cananga odorata Hook. ชื่อสามัญ ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นลักษณะใบคล้ายเล็บ มือนางออกดอกเป็นช่อตรงบริเวณปลายกิ่งโคนก้านใบ สภาพที่เหมาะสม แดดจัด ลักษณะเด่นของพืชชนิดนี้ คือ มีเส้นใยและยางเมือก (mucilagnous)อยู่ในเนื้อไม้โดยทั่วไปเป็นไม้พุ่มขนาดกลางใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่ รูปกลม รูปรีหรือเว้าเป็นแฉก 3-5 แฉก มีกลีบดอก 5 กลีบแต่ละดอกจะเชื่อมติดกันเป็นวงที่ฐานดอก เกสรเพศผู้ประกอบด้วยอับเรณูสีเหลืองรูปไตและก้านชูอับเรณูสีขาวหรือสีเดียวกัน เกสรเพศเมีย อยู่ปลายหลอดเกสรเพศผู้มักมีก้านเล็ก ๆ แยกยอดเกสรเพศเมียเป็น 5 ยอก ตามจำนวนห้องรังไข่ส่วนยอดมีน้ำหวานสำหรับจับละอองเรณู ประเภทของดอกอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
1.ดอกบานเป็นรูปถ้วย 2.ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน 3.กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง การขยายพันธุ์ การขยายพันธุ์มี 3 วิธี คือ 1.การปักชำ 2.การเสียบยอด 3.การติดตา โรคและแมลงศัตรู 1.โรค ที่พบในชบาได้แก่ โรคใบจุดในช่วงฤดูฝน โรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ 2.แมลงศัตรุ ที่พบมากได้แก่ แมลงหวี่ขาวดูดน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนทำให้เกิดโรคใบหงิก เพลี้ยแป้ง เพี้ยหอย ดูดน้ำเลี้ยงจากใบและกิ่งก้านนอกจากนี้ยังมีหนอนผีเสื้อ บางชนิดกัดกินดอกอ่อนทำให้ดอกไม่บานหรือกลีบเว้าแห่วง 3.สัตว์สัตรู ได้แก่ หอยทาก ทำลายโดยการกัดกินดอก กำจัดโดยใช้มือดึงออกหรือโรยปูนขาวรอบพื้นที่ปลูก



วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

ดอกกล้วยไม้

ลักษณะทั่วไป
กล้วยไม้เป็นพืชวงศ์ใหญ่ใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในวงศ์ออดิเดซิอี้ (Orchidaccae) จึงมีขอบเขตคลุมพืชไว้หลายร้อยสกุล จึงเกิดความแตกต่างภายในวงศ์อย่างกว้างขวางพืชทั่วไปในวงศ์นี้มีลักษณะต้นที่เป็นข้อ (nade) บริเวณเหนือข้อและติดอยู่กับข้อจะมีตา ซึ่งตานี้อาจเจริญเป็นหน่ออ่อน กิ่งอ่อนหรือช่อดอก หรือส่วนที่เป็นข้อนี้อาจจะมีใบและกาบใบ ระหว่างข้อแต่ละข้อเรียกว่า "ปล้อง" (Internode) ส่วนของใบมีเส้นใบขนานกันตามความยาวใบลำต้นและรากเนื่องด้วยเป็นพืชวงศ์ใหญ่ เป็นผลให้ลักษณะของกล้วยไม้ มีความแตกต่างเห็นได้ชัด ทั่วไปแล้วลำต้นของกล้วยไม้ไม่มีแก่นไม้จึงพบว่าเนื้อในของลำต้นเสมอกันจึงไม่มีการแบ่งออกเป็นเนื้อไม้และส่วนเปลือกไม้ ในการแบ่งแยกลำต้นของกล้วยไม้แบ่งออกเป็น
1. ลำต้นกล้วยไม้ที่มีลักษณะเป็นลำต้นปกติหรือโมโนโพเดี้ยล (monopodial) ลำต้นกล้วยไม้ประเภทนี้จะสังเกตเห็นได้จากกล้วยไม้ประเภทโมโนโพเดี้ยล เช่น แวนด้า เอื้องกุหลายชนิดต่าง ๆ เป็นต้น ที่มีลำต้นปกติ เป็นข้อและปล้องเช่นเดียวกับพืชใบเลี้ยงเดี่ยวทั่วไป ส่วนที่อยู่เหนือข้อเป็นส่วนที่เกิดตา ซึ่งอาจแยกเป็นหน่ออ่อน กิ่งอ่อน หรือช่อดอกก็ได้
2. ลำต้นกล้วยไม้ประเภทที่ไม่มีลักษณะเป็นลำต้นปกติหรือซิมโพเดี้ยล (sympodia) เป็นกล้วยไม้ที่ลำต้นเปลี่ยนสภาพ กล่าวคือมีความผิดเพี้ยนไปจากลำต้นปกติ แต่ทำหน้าที่แบบลำต้นมีตาที่สามารถแตกหน่อและแทงช่อดอกออกมาจากส่วนนี้ได้ ดังเช่นกล้วยไม้ในสกุลคัทลียา, สกุลเด็นโดรเบียม (สกุลหวาย), สกุลเอพิเด็นครั้ม และสกุลออกซิเดียม
ส่วนลำต้นที่แท้จริงของกล้วยไม้ประเภทนี้คือ ส่วนที่อยู่ราบกับพื้นหรือเครื่องปลูก ซึ่งมีข้อและปล้องคือ เหง้า (rhizome) ส่งก้านใบขึ้นมาเป็นระยะ ๆ ความยาวของข้อและปล้องจะเจริญไปตามแนวนอนและถือเอาส่วนที่แตกหน่อเป็นส่วนยอดดังนั้นส่วนที่ชูใบขึ้นจากพื้นเป็นเพียงส่วนที่ทำหน้าที่คล้ายก้านใบมีชื่อเรียกเฉพาะ "ลูกลำกล้วย" (pseudo-bullb) ซึ่งมีข้อปล้องและมีตา แต่เมื่อส่วนนี้เจริญกระทั่งออกดอกแล้วจะไม่เจริญเติบโตต่อไปอีก จึงไม่เป็นลำต้นที่แท้จริงเพราะไม่มีการแตกยอดใหม่ สรุปได้ว่าส่วนที่เป็น "เหง้า" คือส่วนที่ทำหน้าที่เป็นลำต้นของกล้วยไม้ประเภทซิมโพเดียลและส่วนที่เป็นลำต้น (เหง้า) ที่มักอยู่ในแนวราบกับสิ่งที่กล้วยไม้นั้น ๆ เกาะอยู่ ไม่ว่าสิ่งที่มันอาศัยเกาะอยู่นั้นจะเป็นไปในลักษณะแนวราบหรือแนวตั้งก็ตาม ในกรณีกล้วยไม้ดินอาจมีเหง้าอยู่บริเวณผิวดินหรืออยู่ในดิน กล้วยไม้เป็นพืชที่ไม่มีรากแก้ว แต่จะมีระบบรากเช่นเดียวกับ ขิง ข่า และอ้อย เป็นต้น กับยังมีกล้วยไม้อีกหลายชนิดที่มีระบบรากอากาศหรือยึดเกาะอยู่ตามคาคบไม้ก็ได้

ดอกพุดซ้อน


ชื่อวิทยาศาสตร์ Gardenia Augusta
ถิ่นกำเนิด ประเทศไทย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
พุดซ้อนเป็นดอกไม้สีขาว มีทั้งชนิดที่มีกลิ่นหอมและกลิ่นไม่หอม กลีบซ้อนเป็นชั้นๆ สวยงาม นิยมนำไปร้อยพวงมาลัยบูชาพระ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พุดซ้อนเป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1-2เมตร แตกกิ่งแขนงมาก ลำต้นเรียวเป็นรูปกรวย ใบเป็นใบเดี่ยว รูปหอก ปลายใบและโคนใบแหลม ใบมีสีเขียวมน ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีขาวออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยงหนาเป็นสัน มีทั้งชนิดดอกลาคือกลีบดอกชั้นเดียวและชนิดดอกซ้อนมีกลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกัน เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-8 ซม. กลิ่นหอมแรง ออกดอกตลอดปี
การปลูกและดูแลรักษา
พุดซ้อน เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการแสงแดดจัด ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ
การปลูก
นิยมปลูกในแปลงปลูก เพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ชนาดหลุมปลูก 50x50x50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือ ปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก ถ้าปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านหรืออาคาร ควรปลูกให้มีระยะหย่างที่เหมาะ สม เพราะพุดเป็นไม้ที่มีทรงพุ่มใหญ่
การดูแลรักษาแสงต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
ประโยชน์
ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ ดอกสวยงามและมีกลิ่นหอม
ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย : ปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้าน ตัดแต่งทรงพุ่ม ปลูกเป็นแนวรั้วได้ดีเนื้อหุ้มเมล็ดใช้ทำสีผสมอาหารได้ให้สีเหลืองเนื้อไม้ใช้ทำกรอบรูป ทำหัวน้ำหอม น้ำจากต้นใช้เป็นยาขับพยาธิ รากแก้ไข้ ท้องอืดเฟ้อ เนื้อไม้ใช้ เป็นยาเย็น ลดพิษไข้


ดอกเข็ม


ลักษณะทั่วไป ต้นเข็ม เป็นพรรณไม้ยืนต้นมีพุ่มขนาดเล็กจนถึงขนาดกลางขนาดลำต้นมีความสูงประมาณ 3-5 เมตรลำต้นเป็นต้นเดี่ยวหรือแตกกอแผ่สาขาออกไปเป็นต้นต้นเล็กกลมขนาดเส้นรอบวงประมาณ 4-10 เซนติเมตรลำต้นเรียบสีน้ำตาลกิ่งยอดมีสีเขียวแตกกิ่งตรงขึ้นด้านบน ใบเป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่สลับกันรอบต้นและกิ่ง ใบแข็งเปราะมีสีเขียวสด โคนใบมนปลายใบแหลม ลักษณะใบมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์ออกดอกเป็นช่อออกตรงส่วนยอดซึ่งมีก้านดอกชูไว้ภายในช่อประกอบด้วยดอกเล็กๆลักษณะเป็นหลอดเล็ก ๆ ซึ่งมีกลีบอยู่ส่วนบน ประมาณ 4-5 กลีบ กลีบเล็กแหลม ลักษณะดอกและสีสรรแตกต่างกันไป
การเป็นมงคล คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกเข็มไว้ประจำบ้านจะทำให้มีความฉลาดเฉียบแหลม เพราะเข็มคือสิ่งที่มึความแหลมคม ดังนั้นคนไทยโบรานจึงใช้ดอกเข็มในพิธีไหว้ครูเพื่อจะได้เป็นนักปราชญ์ที่มีสติปัญญาฉลาดเฉียบแหลมนอกจากนี้ยังใช้้ดอกเข็มเป็นเครื่องบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพิธีทางศาสนาได้เป็นสิริมงคลยิ่งนัก
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นเข็มไว้ ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพือเอาประโยชน์ทั่วไปทางดอก ให้ปลูกในวันพุธ