วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

ดอกกล้วยไม้

ลักษณะทั่วไป
กล้วยไม้เป็นพืชวงศ์ใหญ่ใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในวงศ์ออดิเดซิอี้ (Orchidaccae) จึงมีขอบเขตคลุมพืชไว้หลายร้อยสกุล จึงเกิดความแตกต่างภายในวงศ์อย่างกว้างขวางพืชทั่วไปในวงศ์นี้มีลักษณะต้นที่เป็นข้อ (nade) บริเวณเหนือข้อและติดอยู่กับข้อจะมีตา ซึ่งตานี้อาจเจริญเป็นหน่ออ่อน กิ่งอ่อนหรือช่อดอก หรือส่วนที่เป็นข้อนี้อาจจะมีใบและกาบใบ ระหว่างข้อแต่ละข้อเรียกว่า "ปล้อง" (Internode) ส่วนของใบมีเส้นใบขนานกันตามความยาวใบลำต้นและรากเนื่องด้วยเป็นพืชวงศ์ใหญ่ เป็นผลให้ลักษณะของกล้วยไม้ มีความแตกต่างเห็นได้ชัด ทั่วไปแล้วลำต้นของกล้วยไม้ไม่มีแก่นไม้จึงพบว่าเนื้อในของลำต้นเสมอกันจึงไม่มีการแบ่งออกเป็นเนื้อไม้และส่วนเปลือกไม้ ในการแบ่งแยกลำต้นของกล้วยไม้แบ่งออกเป็น
1. ลำต้นกล้วยไม้ที่มีลักษณะเป็นลำต้นปกติหรือโมโนโพเดี้ยล (monopodial) ลำต้นกล้วยไม้ประเภทนี้จะสังเกตเห็นได้จากกล้วยไม้ประเภทโมโนโพเดี้ยล เช่น แวนด้า เอื้องกุหลายชนิดต่าง ๆ เป็นต้น ที่มีลำต้นปกติ เป็นข้อและปล้องเช่นเดียวกับพืชใบเลี้ยงเดี่ยวทั่วไป ส่วนที่อยู่เหนือข้อเป็นส่วนที่เกิดตา ซึ่งอาจแยกเป็นหน่ออ่อน กิ่งอ่อน หรือช่อดอกก็ได้
2. ลำต้นกล้วยไม้ประเภทที่ไม่มีลักษณะเป็นลำต้นปกติหรือซิมโพเดี้ยล (sympodia) เป็นกล้วยไม้ที่ลำต้นเปลี่ยนสภาพ กล่าวคือมีความผิดเพี้ยนไปจากลำต้นปกติ แต่ทำหน้าที่แบบลำต้นมีตาที่สามารถแตกหน่อและแทงช่อดอกออกมาจากส่วนนี้ได้ ดังเช่นกล้วยไม้ในสกุลคัทลียา, สกุลเด็นโดรเบียม (สกุลหวาย), สกุลเอพิเด็นครั้ม และสกุลออกซิเดียม
ส่วนลำต้นที่แท้จริงของกล้วยไม้ประเภทนี้คือ ส่วนที่อยู่ราบกับพื้นหรือเครื่องปลูก ซึ่งมีข้อและปล้องคือ เหง้า (rhizome) ส่งก้านใบขึ้นมาเป็นระยะ ๆ ความยาวของข้อและปล้องจะเจริญไปตามแนวนอนและถือเอาส่วนที่แตกหน่อเป็นส่วนยอดดังนั้นส่วนที่ชูใบขึ้นจากพื้นเป็นเพียงส่วนที่ทำหน้าที่คล้ายก้านใบมีชื่อเรียกเฉพาะ "ลูกลำกล้วย" (pseudo-bullb) ซึ่งมีข้อปล้องและมีตา แต่เมื่อส่วนนี้เจริญกระทั่งออกดอกแล้วจะไม่เจริญเติบโตต่อไปอีก จึงไม่เป็นลำต้นที่แท้จริงเพราะไม่มีการแตกยอดใหม่ สรุปได้ว่าส่วนที่เป็น "เหง้า" คือส่วนที่ทำหน้าที่เป็นลำต้นของกล้วยไม้ประเภทซิมโพเดียลและส่วนที่เป็นลำต้น (เหง้า) ที่มักอยู่ในแนวราบกับสิ่งที่กล้วยไม้นั้น ๆ เกาะอยู่ ไม่ว่าสิ่งที่มันอาศัยเกาะอยู่นั้นจะเป็นไปในลักษณะแนวราบหรือแนวตั้งก็ตาม ในกรณีกล้วยไม้ดินอาจมีเหง้าอยู่บริเวณผิวดินหรืออยู่ในดิน กล้วยไม้เป็นพืชที่ไม่มีรากแก้ว แต่จะมีระบบรากเช่นเดียวกับ ขิง ข่า และอ้อย เป็นต้น กับยังมีกล้วยไม้อีกหลายชนิดที่มีระบบรากอากาศหรือยึดเกาะอยู่ตามคาคบไม้ก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น